โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน


[wpdm_package id=’5600′]


วันที่ 18 พฤศจิากยน 2565

นายกฤษนเดช  ราษีทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์ พร้อมด้วยนางชะลอ สังข์งาม ครู คศ.2 ทำหน้าที่รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ นางสาวธัญลักษณ์ หีบขุนทด ผู้รับผิดชอบโครงการ และ คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมต้อนรับคณะกรรมการ ติดตามการดำเนินโครงการชีววิถี   เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปีการศึกษา 2565

ณ ศูนย์การเรียนรู้ชีววิถีฯ วิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์

5 โครงการภายใต้ ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ไก่พันธุ์ไข่

แผนกที่รับผิดชอบ : คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พันธ์ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยในปัจจุบันส่วนมากแล้วเป็นพันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์มาเป็นอย่างดีแล้ว เช่น ไข่ฟองโต และให้ไข่ทน พันธุ์ไก่ไข่ที่มีการเลี้ยงกันมากซึ่งที่แผนกคอมพิวเตอร์ ได้เลือกมาเลี้ยงคือ ไก่โร๊ดไอส์แลนด์แดงหงอนจักรมีรูปร่างค่อนข้างยางและลึก เหมือนสี่เหลี่ยมยาว ขนมีสีน้ำตาลแกมแดง หงอนจักร ผิวหนังและแข้งสีเหลือง แผ่นหูมีสีแดง เปลือกไขมีสีน้ำตาล ลักษณะนิสัยเชื่อง แข็งแรง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เริ่มให้ไข่เมื่ออายุระหว่าง 5 ½ -6 เดือน ให้ไข่ปีละประมาณ 280 – 300 ฟอง น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 3.1 – 4.0 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.2 – 4.0 กิโลกรัม สมัยก่อนนิยมเลี้ยงเป็นไก่ไข่เพราะให้ไข่ดก แต่ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นไก่ต้นพันธุ์ ในการผลิตไก่ไข่ลูกผสมทางการค้า เพื่อให้ได้ลูกผสมที่สามารถคัดเพศได้เมื่ออายุ 1 วัน โดยดูความแตกต่างของสีขน ไก่ไข่เพื่อการค้าในปัจจุบันที่ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาลนั้น มักมาจากการผสมข้ามพันธุ์ของไก่โร๊ดไอส์แลนด์แดงหงอนจักรกับไก่พันธุ์บาร์พลีมัทร็อคลูกผสมที่จะได้ให้ไข่ดกไข่เปลือก มีสีน้ำตาลและให้ไข่ฟองโต


ผักสวนครัว

แผนกที่รับผิดชอบ : การบัญชี
พืชสวนครัว หมายถึง พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวผักสวนครัว คือ ผักที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือที่ว่างต่าง ๆ ในชุมชนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกไว้สำหรับรับประทานเองภายในครอบครัวหรือชุมชน การปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานจะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มีความปลอดภัยจากสารเคมี ลดรายจ่ายในครัวเรือน และที่สำคัญทำให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในการปลูกผักเพื่อเกิดสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยทั่วไปคนต้องมีการบริโภคผักอย่างน้อย วันละ 200 กรัม เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน


บ่อเลี้ยงปลาพลาสติก

แผนกที่รับผิดชอบ : ช่างไฟฟ้า
ปลาดุกบิ๊กอุยหรือชาวบ้านเรียกว่า ประดุกอุยเทศเป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุย เพศเมียกับปลาดุกเทศเพศผู้ และเป็นที่นิยมเลี้ยง เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีอัตราเจริญเติบโตดีทนทานต่อโรค และสภาพแวดล้อมดี มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายเพราะรสชาติดี ราคาถูก


หมูหลุม

แผนกที่รับผิดชอบ : ช่างยนต์
ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน ไม่มีน้ำเน่าเสีย แม้จะเลี้ยงหมูเป็นร้อยๆตัว ต้นทุนต่ำ กำไรดี เลี้ยงง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย หมูหลุม ทางเลือกใหม่ของเกษตรกรยุคนี้ สุพจน์ สิงห์โตศรี กล่าวต่ออีกว่า การเลี้ยงหมูหลุมนี่แหละคือความยั่งยืน มั่นคงของเกษตรกรโดยแท้ นอกจากนี้หมูหลุม ยังเป็นทางเลือกที่ดีของผู้บริโภคที่จะได้บริโภคเนื้อหมูสะอาดปลอดภัยจากสารเร่งเนื้อแดงร้อยเปอร์เซนต์ ที่สำคัญระบบนี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะการเลี้ยงหมูหลุม เป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ เน้นการใช้วัสดุจากท้องถิ่นตามธรรมชาติ ที่หาง่าย การเลี้ยงหมูหลุม นอกเหนือจากขายเนื้อแล้ว ยังสามารถผลิตปุ๋ยคอกจากมูลหมูขายได้อีกด้วย


EM

แผนกที่รับผิดชอบ : ช่างกลโรงงาน
EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง “กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่ได้รับการคัดสรรเป็นอย่างดี มีประโยชน์ต่อคน พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม” ซึ่งประกอบด้วย

  • กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria) คุณสมบัติ สังเคราะห์สารอินทรีย์และสร้างความอุดมสมบูรณ์
  • กลุ่มจุลินทรีย์สร้างกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria) คุณสมบัติ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ
  • กลุ่มจุลินทรีย์หมัก เช่น ยีสต์ (Yeast) คุณสมบัติ ช่วยในการย่อยสลาย


[wpdm_package id=’5667′]

[wpdm_package id=’5665′]

 2,576 total views,  1 views today