5 กลุ่มโรคติดต่อที่มากับหน้าฝน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

5 กลุ่มโรคติดต่อที่มากับหน้าฝน 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประกาศเตือน 5 กลุ่มโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในหน้าฝน ได้แก่

  1. กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน  อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ บิด  เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ และบี
  2. กลุ่มโรคติดต่อขอบระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ หวัด หลอดลมอักเสบ  ปอดอักเสบ  
  3. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ได้แก่ ไข้เลือดออก  ไข้สมองอักเสบเจอี  โรคมาลาเรีย
  4. กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือเยื่อบุผิวหนัง ได้แก่ โรคไข้ฉี่หนู หรือแลปโตสไปโรซิส 
  5. กลุ่มโรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง 

5 โรคติดต่อ โรคที่มากับหน้าฝน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ  

โรคไข้หวัดใหญ่

อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ  ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดจากเชื้อไข้หวัดชนิดเอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากไวรัสชนิดเดิมมาก ที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า สายพันธุ์ A สายพันธุ์ B  เชื้อที่เปลี่ยนไปนี้เองที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันจึงเกิดการระบาดได้ง่าย อาการรุนแรง เช่น ไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ปวดเมื่อตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ หนาวสั่น  อ่อนเพลีย  เจ็บคอ และบางรายอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  การรักษา นอกจากรักษาตามอาการแล้วผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสด้วย  

อย่างไรก็ดี  วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพื่อลดความรุนแรงของโรค  โดยเฉพาะผู้ที่อยุู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือน- 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคปอด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็ง ธาลัสซีเมีย  ผู้ติดเชื้อเอชไอวี  และโรคอ้วน  

โรคไข้เลือดออก

อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง  ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ (DENV-1 / DENV-2 / DENV-3 / DENV-4) เป็นโรคที่มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ในช่วงหน้าฝนจะมียุงลายเติบโตเป็นจำนวนมากจึงส่งผลให้โรคไข้เลือดออกมักแพร่ระบาดในช่วงหน้าฝนมากที่สุด   ผู้ป่วยที่เคยได้รับเชื้อไรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น  ดังนั้นหากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปก็ย่อมมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้อีก ที่สำคัญการติดเชื้อครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก บางรายหากมีอาการรุนแรงมากอาจเกิดภาวะไหลเวียนเลือดล้มเหลว หรือช๊อก  ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง และมีโอกาสเสียชีวิตได้  

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวัสสำหรับโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ  เป็นการรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคอง  การป้องกันฉะนั้นควรกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านให้หมด และอย่าลืมป้องกันยุงกัดด้วยการจุดยากันยุง หรือกางมุ้งนอน

โรคฉี่หนู  

อยู่ในกลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือเยื่อบุผิวหนัง  โรคฉี่หนู หรือแลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่ระบาดมากที่สุดในช่วงหน้าฝนเพราะน้ำฝนจะชะล้างเชื้อโรค สิ่งสกปรกจากทุกแห่งมารวมกันในจุดที่น้ำท่วมขังรวมถึงเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่าซึ่งมีชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำได้นานถึง 30 วัน  เหตุที่เรียกว่า โรคฉี่หนู เนื่องจากเชื้อเลปโตสไปร่าอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนู นอกจากนี้ยังพบในหมู วัว ควาย สุนัข ด้วย   ส่วนการติดต่อของโรค หากผู้มีบาดแผล หรือรอยขีดข่วนที่ผิวหนัง หรือผิวหนังเปื่อยจากการแช่น้ำนานๆ ไปสัมผัสเชื้อนี้เข้าจะสามารถติดเชื้อนี้ได้  โดยมีอาการไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง หลัง และต้นคอ  คลื่นไส้อาเจียน  ตาเหลือง ตัวเหลือง ความดันโลหิตต่ำ   ต่อมาตับและไตจะทำหน้าที่ผิดปกติ บางรายพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้   

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู หากมีบาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ สัมผัสแหล่งน้ำที่ท่วมขัง โดยเฉพาะเกษตรกร หรืออาชีพที่ต้องสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น สวมรองเท้าบู๊ทยาง  และควรทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่สัมผัสน้ำท่วมขัง

โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง

ติดต่อได้ง่ายด้วยการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นมือ แขน เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า หากสิ่งเหล่านี้ไปสัมผัสเชื้อไวร้สตามที่ต่างๆ หรือในน้ำสกปรก แล้วเผลอมาป้ายตาเข้า เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ดวงตาทันทีทำให้เกิดอาการเคืองตา  คันตา  รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา น้ำตาไหล ตามมา และหากติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะทำให้มีขี้ตามากหลังตื่นนอน ทำให้แทบจะลืมตาไม่ขึ้น

วิธีป้องกันคือ หมั่นดูแลความสะอาดของร่างกาย  ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัส หรือขยี้ตา  หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าดวงตาควรล้างด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตา  ไม่ใช้เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในช่วงตาแดงระบาด 

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร  เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือการใช้ภาชนะที่ไม่สะอาด หรือผู้ปรุงอาหารไม่รักษาความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝนที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝนที่่ไหลลงมาจากชายคาร้านค้า น้ำที่ท่วมขังกระเด็นมาถูกอาหาร หรือภาชนะใส่อาหาร แม้แต่มือที่หยิบจับอาหารซึ่งอาจสัมผัสเชื้อโรคมา  เชื้อโรคดังกล่าวก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารที่ลำไส้ทำให้มีอาการถ่ายเหลวกว่าปกติเกิน 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป้นน้ำ 1 ครั้งต่อวัน อาการจะเกิดขึ้นเฉียบพลัน  อาจมีไข้ อาเจียน ปวดบิดในช่องท้อง

วิธีป้องกัน คือ รักษาความสะอาดทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการปรุงอาหารและการรับประทานอาหาร  เลือกซื้ออาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ  ใช้ภาชนะใส่อาหารที่สะอาด 

 1,380 total views,  1 views today